Best Practices Data Backup ที่ควรปฏิบัติตาม

Best Practices Data Backup

Best Practices Data Backup คือความจำเป็น ที่มักถูกมองข้ามอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆที่ข้อมูลที่คุณ Online อยู่นั้น มีความเสี่ยงสูงมากๆ ทั้งจากการถูกโจมตี ถูกไวรัส ransomeware ถูกขโมย ข้อมูลเสียหาย hardware เสียหาย หรือแม้แต่เกิดการผิดพลาดของข้อมูล งั้นเรามาลองดูวิธีที่ผมแนะนำว่าจะจัดการกับการ backup data อย่างไรดีครับ

What Is Data Backup?

Data Backup คืออะไร มันคือการจัดเก็บสำรองข้อมูลหลัก แยกออกมา เพื่อให้สามารถ นำกลับมาใช้งานได้ หากกรณี ฉุกเฉิน ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นๆได้ สูญหาย เสียหาย ถูกลบ ถูกขโมย ถูก Ransomeware จริงๆการสำรองข้อมูล เป็นเรื่องที่ คนส่วนใหญ่ รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ปฏิบัติตามได้จริงไหมนี่สิ

วัตถุประสงค์หลักของการสำรองข้อมูล ไม่ใช่เพื่อหยุดการสูญหาย สูญเสียของข้อมูล แต่เพื่อเรียกกลับ กู้คืนสำเนาที่เราสำรองเอาไว้หากเกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ application หรือ website ต่างๆ

การสำรองข้อมูล มีความสำคัญอย่างไร ?

คุณแน่ใจจริงๆหรือ ว่าคุณสามารถ ยอมให้ข้อมูลสำคัญขององค์กรคุณ เสียหาย สูญหายได้ เพียงเพราะคุณเลือกที่จะไม่ให้ความสำคัญกับการสำรองข้อมูลที่ดีพอ เลือกใช้วิธีที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไว้ใจผู้ให้บริการมากเกินไป การกู้คืนข้อมูลจริงๆอาจจะทำได้ยาก อาจจะมีราคาแพง อาจจะใช้เวลานาน หรือบางครั้ง อาจะเรียกคืนไม่ได้ด้วยซ้ำ

ผมจะบอกถึงสาเหตุเพิ่มเติม ที่ทุกบริษัทควรให้ความสำคัญ กับการสำรองข้อมูล

การป้องกันข้อมูลเสียหาย สูญเสีย

สาเหตุหลักอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูลเสียหายได้ โดยทั้งตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ก็คือการลบข้อมูลนั้นเอง ซึ่งเป็นไปได้ง่ายๆว่า หนึ่งในพนักงานของคุณ ผู้ที่มีสิทธิเข้าถึง การลบข้อมูลนั้นๆ ได้เผลอ ทำงานผิด หรือลบข้อมูลออกไป ทำให้ไม่สามารถ เรียกกลับมาได้ แม้ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยๆ ขำขันกันในหมู่ที่ทำงาน แต่ถ้าข้อมูลนั้นมีความสำคัญมาก เช่น ข้อสอบ ผลสอบ ประวัติการใช้บริการ รายการงาน บางทีอาจมีคนยิ้มไม่ออกนะครับ

หรือจริงๆในบางกรณ๊ อาจจะถึงขั้น มีพนักงานบางคน จงใจแกล้งทำเป็น ลบผิด ด้วยก็ได้นะ ฮีอๆ

การป้องกันจาก Hardware เสียหาย

เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ว่า HDD ของ Server คุณพัง ไม่สามารถใช้งานได้ หรือแม้แต่ Server ทั้ง Server ไม่สามารถเปิดขึ้นมาได้เลย ทำให้ไม่สามารถเรียกข้อมูลใดๆได้เลย

การป้องกันจากการถูกโจมตี

บ่อยครั้งที่ Virus หรือ Ransomeware ทำงานเป็นข่าวดัง ให้ทุกธุรกิจหวาดกลัว เพราะหาทางแก้ไข ได้ยากเสียเหลือเกิน แต่กระนั้น ในทุกวันนี้ ก็ยังมีหลายๆองค์กร ถูก virus เหล่านี้เล่นงาน ชนิดที่กู่ไม่กลับ เอาคืนไม่ได้ ธุรกิจเสียหายไปหลายวัน ข้อมูลเสียหายไม่สามารถเอาคืนกลับมาได้

แม้บางองค์กร ไปฝากระบบไว้กลับ ผู้ให้บริการขนาดใหญ่ ที่อ้างตัวว่า เป็นผู้ที่มีความพร้อม ในการให้บริการในทุกๆด้าน แต่ก็ยังไม่วายโดนเล่นงาน ทำให้เกิดความเสียหายไปทั่ว เป็นวงกว้าง

Best Practices Data Backup ที่ควรยึดถือคือ?

งั้นเรามาดูวิธีแก้ไข วิธีปฏิบัติจริง ตามที่ควรจะเป็นกันดีกว่า ว่าแผนในการ backup data ที่ดี จริงๆควรเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร พร้อมที่จะนำข้อมูลกลับมาขนาดไหน

การสำรองข้อมูลเป็นประจำและบ่อยครั้ง

สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ การสำรองข้อมูลอยู่เป็นประจำ ทำถี่ๆ ทำบ่อยๆ ไม่ควรใช้เวลายาวนานในการทำ และไม่ควรทิ้งช่วงห่างระยะเกินไป ยิ่งธุรกิจที่มีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก มี Transaction รายวันเยอะ ยิ่งควรทำทุกวัน เผื่อไม่ให้ข้อมูลหลุดหายเป็นจำนวนมาก

สำรองข้อมูลในหลายๆวิธี

ถ้าคิดว่า การสำรองข้อมูลวิธีเดียว ก็เกินพอแล้ว นั้นคือคุณกำลังไม่ให้ความสำคัญ กับการสำรองข้อมูล เพราะการสำรองข้อมูล จำเป็นต้องสร้างความมั่นใจได้ ว่าจะสามารถนำข้อมูลนั้นๆ กลับมาได้จริงๆ ใช้งานได้จริง หรือจะเลือกใช้ข้อกำหนด 3-2-1 ที่เป็นที่นิยมสำหรับการ backup data ก็ได้ นั้นคือการทำสำเนา 3 ชุด แยกเก็บกัน 2 Platform ถ้าเป็นทางเลือกที่ดี ก็ควรมองเป็น Cloud Platform 2 เจ้า ที่แยกจากผู้ให้บริการตัว application หลัก

เช่น ตัว Website Application หลัก เลือกใช้งานผู้ให้บริการ Cloud Hosting ในไทย ส่วน Backup 1 เอาไว้บน Cloud Amazon S3 ส่วนอีก 1 เอาไว้บน Google Drive แบบนี้ ก็ยังพอให้สะดวกกว่า ไว้ที่ให้ที่หนึ่ง แบบนี้คือปลอดภัยกว่ามาก เพราะหากตัวจริงที่ Backup อยู่กับ Cloud Hosting ในไทย ก็ไม่สามารถเรียกใช้ (เกิดติด Ransomeware ทั้งองค์กร) เราก็ยังมี Alibaba อีกเครื่องที่พร้อมใช้

ทดสอบการกู้คืนข้อมูล

หลายๆคนเข้าใจผิด คิดว่าแค่เพียงสำรองข้อมูลก็เป็นอันจบแล้ว แต่ความจริง มันเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้นเอง เพราะเมื่อคุณสำรองข้อมูลออกมาแล้ว คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าข้อมูลนั้นๆ สามารถนำกลับมาใช้งานได้จริงๆ อย่างถูกต้อง ตรงและแม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อน อ่อ…เราไว้ใจผู้ให้บริการคะ

อ่อ…แบบนั้นก็ไม่ดีมากๆเลยนะครับ เพราะความจริงแล้ว คุณต้องทำระบบสำรองขึ้นมา 1 ระบบ เพื่อใช้ในการทดสอบ การกู้คืนระบบ ว่าระบบที่เราทำการ Backup นั้น มันสามารถใช้งานได้จริงไหม กู้คืนกลับมาได้ไหม ไม่ใช่จ่ายๆเงินไปแล้ว เข้ามา backup ให้ตลอก แต่ดันกู้คืนไม่ได้ซะงั้น

ระยะเวลาในการจัดเก็บ

นี่ก็เป็นเรื่องสำคัญมาก เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าข้อมูลของเรา ควรสำรองไว้นานขนาดไหน อันนี้จริงๆด็ขึ้นอยู่กับงบประมาณเลยครับ เพราะถ้าข้อมูลไม่ได้ใหญ่โตมาก ก็คงใช้พื้นที่จัดเก็บไม่เยอะเท่าไหร่ แบบนี้ก็สามารถสำรองกันได้ยาวๆไปเลย เป็นรายปีเลยก็ได้ แต่ถ้าข้อมูลใหญ่มาก เก็บบ่อยมากแบบนี้เก็บไว้นานก็จะเปลืองงบประมาณ แนะนำเก็บแค่หลักเดือนก็พอครับ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว หากระบบเกินปัญหาจริงๆ เรามักจะเรียกใช้ data ที่เพิ่งเก็บไปล่าสุดอยู่แล้วครับ

เครื่องมือสำหรับการ Backup

ตอนนี้ในตลาด มีเครื่องมือและระบบ backup มากมายเลยครับ แต่ผมขอยกตัวอย่างมาไม่กี่เจ้าและ Focus ไปที่ระบบ Online อย่างพวก Website, Web Application, Application เป็นหลักแทนระบบ VM หรือระบบ OS นะครับ

Acronis Cyber Protect

เริ่มจากเจ้านี้ ทั้งๆที่เน้นเป็น OS ซะงั้น แต่จริงๆแล้ว Acronis เหมาะกับคนที่ใช้งาน Windows Server ครับ เพราะว่า หากติดตั้งลงไปแล้ว ก็สามารถ backup ทั้ง File และ Database ที่เราเก็บไว้ เข้าระบบได้ทันที และยังมีระบบ Restore ที่ง่ายดาย ทำให้สะดวกต่อการใช้งานครับ

Simple Backups

ระบบ Backup ที่ใช้งานง่านอีกเจ้า โดยค่ายนี้เน้นไปที่ Website, Web Application Backup เลือก Database และ File Folder ที่ต้องการจัดเก็บ Set วันที่ต้องการ แค่นั้นก็เป็นอันเสร็จ

ส่วนใครใช้งาน WordPress เป็น Core ของ Website ก็ดูรายชื่อตามนี้ได้เลยครับ BlogVault, JetPack Backup, UpdraftPuls

ส่วนใครที่ต้องการ มืออาชีพดูแล แทนที่จะต้องมานั่งทำเอง ปรึกษาเข้ามาได้นะครับ ทางเรามีประสบการณ์ดูแล Website และ Application จำนวนมากพร้อมให้คำแนะนำและบริการครับ

ขอบคุณครับ
ธีรภัทร เกษสกุล

ภาพถ่ายโดย Sergei Starostin

คุณอาจสนใจเรื่องนี้ : Firewall คืออะไรและทำอะไรได้บ้าง มาดูกัน

คุณพ่อของน้องเกี้ยมอี๋ ไม่รู้ว่าใครซนกว่ากัน ทำงานเป็นโปรแกรมเม่า และ System Analyst ประจำบ้าน ดูหนัง ดูซีรี่ย์ เล่นเกมส์กับลูกชาย และเขียนบทความ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back To Top