คำถาม ที่ควรถามก่อนจ้าง FREELANCE มาทำ WEBSITE

คำถาม Freelance

คำถาม มีมากมาย สำหรับคนที่กำลังจะจ้าง หรือหา คนมาเพื่อช่วยจัดแจง เปลี่ยน Idea (หรือความฝัน) ในหัวของเค้าให้กลายมาเป็น Website หรือ Web Application เพื่อใช้งาน จะดำเนินธุรกิจ หรือเพื่อตอบโจทย์ อื่นใดก็ตามแต่ แล้วจะถามอะไร จะตั้งคำถาม อย่างไร ลองใช้คำถามเหล่านี้ สำหรับค้นหาเคมี ที่ตรงกันกับความต้องการของคุณ ก่อนจ้างงานพวกเค้าดูครับ

คำถาม ที่ควรถามก่อนจ้าง freelance

อันที่จริง เรื่องนี้อาจจะไม่ได้ จำเป็นอะไรมากนัก แต่แค่อาจจะเป็น แนวทางในการ ค้นหา เคมีของ freelance ที่จะเข้ามารับงานของเรา เข้ามารับหน้าที่ใหญ่

เปลี่ยนแปลงจินตนาการ ให้กลายร่างเป็นตัวอักษร Source Code แล้วเปลี่ยนเป็น ระบบที่ใช้งานได้จริง จับต้องได้ Post นี้น่าจะเป็นแนวทางให้ คนที่สนใจจะหา freelance มาทำงานได้ แต่ก็ยังเหมาะสำหรับ freelance เพื่อใช้เตรียมตัวในการ รับคำถาม เหล่านี้อีกด้วย

จุดประสงค์ของการถาม เราต้องการรู้ว่า คนที่เราจะจ้างทำงานนั้น เค้าเป็นใคร มาจากไหน เก่งไหม ราคาเท่าไหร่ ผลงานเท่ากับมูลค่าที่เสียไปไหม มีแนวคิดอย่างไร มีความรับผิดชอบขนาดไหน

เรื่องทำนองนี้จะถามกันตรงๆแบบนี้ก็อาจจะ ไม่ได้คำตอบ ตามที่ต้องการ มีใครจะพูดให้ตัวเองดูไม่ดี แน่นอน งั้นเรามาเริ่มจากการถามคำถาม ง่ายๆ เพื่อค้นหา เคมีของเหล่า freelance มืออาชีพกันดีกว่า

1.คำถาม หาผลงานล่าสุด

อันนี้คิดว่า เป็นสิ่งสำคัญมากๆเลย เพราะอยากรู้ว่า เค้าเคยทำงานให้ใครไปบ้าง Developer ที่เราจะให้ทำานให้กับเรา ทำงานอะไรมา และยิ่งได้มากกว่างาน ล่าสุดคือได้เป็น Portfolio เลยยิ่งดี เอามาเพื่อให้ได้เห็น ว่าเค้าเคยทำอะไรมาก่อน แล้วเค้า เข้าใจกับงานที่เค้ากำลังจะเอาไปทำนี่ มากน้อยขนาดไหน จริงเพียงใด

แถมมันยังสามารถ เป็นเครื่องมือ ชี้วัดความสามารถของเค้า และชื่อเสียงของเค้าได้ดีอีกด้วย เพราะหากเคยทำงานมาเยอะ แปลว่า มีคนไว้ใจเค้ามากไม่น้อย แล้วยิ่งถ้าผลงานนั้น ยังถูกใช้งานอยู่ในตอนนี้ ยิ่งแสดงให้เห็น ถึงความเข้าใจและสำเร็จในการทำงาน แต่อันที่จริง ปริมาณหรือชื่อเสียงของลูกค้า ก็ไม่ได้มาเป็นตัววัดได้ซะทั้งหมด เพราะว่า บางคนได้มาแต่งานเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ก็มีไม่น้อย

2.เค้ามีงานประจำไหม

freelance จำนวนมาก มีงานประจำอยู่แล้ว ทำวันจันทร์ – ศุกร์ แต่ตอนเย็นหรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เค้าก็พร้อมจะลงมา ขายความสามารถของเค้า ไม่ต่างกับคนที่เป็น freelance เต็มตัว ที่ทำงานมันทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ ดังนั้นเรื่องนี้อาจจะมีผลกับ ระยะเวลาของโปรเจ็คงาน หากเป็นคนที่มีงานประจำ ชั่วโมงในการทำงานน้อยกว่า งานอาจจะเสร็จช้ากว่า คนที่ชั่วโมงทำงานเยอะกว่า

แต่คุณควรรู้ไว้ด้วยว่า ชั่วโมงทำงานของแต่ละคน จะให้งานที่ไม่เท่ากัน freelance บางคนใช้เวลาทำหน้า form สมัครสมาชิก อย่างเดียว 1 วัน บางคนอาจจะใช้เวลาแค่ 60 นาทีก็ทำมันเสร็จ ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบหลายอย่าง เช่นอาจจะอยู่ที่ เครื่องมือ framework หรือแม้แต่บางคนพพัฒนาบนระบบสำเร็จรูปแบบ CMS แต่ก็มีคนหลายคน มองว่าคนที่มีงานประจำ อย่างน้อยก็มีการการันตีฝีมือ เพราะมีบริษัทจ้างทำงานตลอด แต่หลายคนที่เป็น freelance แต่มีงานไม่หยุดเลยก็เยอะนะครับ

3.งานหลักของเค้าคืออะไร

อันนี้ไม่ได้หมายถึงว่า เค้าทำงานประจำ ตำแหน่งอะไร แบบนั้นนะครับ อันนี้เป็นส่วนของ บริการหรือ Service ของ freelance แต่ละคนนั้น จะเชี่ยวชาญ ชำนาญงาน แตกต่างกันแน่นอน อาจจะไม่มาก ก็น้อย มันต้องมีความต่างบ้างแหละ

เช่น บางคนรับออกแบบเว็บไซต์ แล้วใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสร้างขึ้นมา บางคนถนัดปรับแต่ง CMS บางคนถนัด Mo Theme บางคนถนัดรับงานประเภท Web Application จัดการกับฐานข้อมูลเยอะๆ บางคนถนัดงานเว็บส่วนตัว บางคนถนัดเว็บขายของ  บางคนถนัดเว็บองค์กร

เชื่อผมไหมครับ เวลาคุณไปถามเค้า เค้าจะตอบเป็นเสียงเดียวกันหมด ว่า “ทำได้หมดแหละ” แต่ให้เราลองดูจากผลงานของเค้าครับ ว่าเค้าเคยทำงานแบบไหนมาบ้าง อันนั้จะชัดเจน หรือไม่ก็ลองใช้คำถามข้อต่อๆไป เพื่อค้นหาต่อครับ

4.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ

ข้อนี้ยากมากๆ จะรู้ได้อย่างไร ว่าคนไหน น่าเชื่อถือ ไม่น่าเชื่อถือ จะวัดจากอะไรได้ อันนี้ผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจครับ เลยคิดว่า หากเราได้ข้อมูลเหล่านี้มาประกอบ การตัดสินใจ ก็น่าจะพอช่วยได้ระดับหนึ่งละ นั้นคือ ในตลาดเค้าเป็นผู้เล่นระดับไหน เราไม่ได้มาจัดอันดับผู้เล่นเกมส์นะครับ

แต่ถ้าพูดถึง การทำงานแบบนี้เมื่อไหร่ ค้นหาใน google หรือถามใครต่อใครเมื่อไหร่ มีเค้าติดอยู่ใน list รายการบ้างไหม ถ้ามี อันนี้ง่ายแหละ เพราะผลงาน หรือแนวคิดของเค้า คงประจักต่อสายตาใครมาเยอะแล้ว แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่ได้แปลว่าเค้าไม่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นให้ย้อนกลับไป ดูที่ผลงานเค้า(อีกแล้ว)

ว่ามีใครบ้าง ที่พอจะการันตี ผลงานของเค้าได้บ้าง หรือผลงานเค้าเคยสร้างสรรค์ แหวกแนว โดดเด่น ออกมาอย่างไรได้บ้าง มันจะพอมองเห็น สิ่งที่คนอื่น ไว้ใจเค้า มาก่อนหน้าเรานะครับ

5.เค้ามีทีมงานไหม

อันนี้บางคน ตลกเลยพอได้ยิน ก็เรากำลังจะจ้าง freelance เค้าจะไปมีทีมงานได้อย่างไร ….. เออ… อันนี้มันเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ เพราะความจริง freelance ที่ดีส่วนใหญ่ จะมีเครือข่าย หรือทำงานกันเป็นทีม แม้จะมีไม่น้อยที่ลอยแพอยู่ตัวคนเดียว แต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด

ถ้าเค้ามีทีมงาน ให้ลองดูว่า ทีมงานเค้าเป็นใคร มีอะไรโดดเด่นกันบ้าง รับงานแบบเป็นทีมทั้งหมด หรือแยกกันทำเดี่ยว และเพื่อให้แนน่ใจว่า หากเค้าไม่สบาย ล้มหมอนนอนเสื่อขึ้นมา หรือแค่ติดธุระ ไปเที่ยวต่างจังหวัด 3-4 วัน จะมีคนดูแลงานให้คุณต่อได้ ไม่ใช่มีแค่เค้าคนเดียว

6.ค่าใช่จ่ายนอกเหนือจากการพัฒนามีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่าย เป็นเรื่องที่ต้องคุให้จบ ให้เข้าใจตรงกัน ตั้งแต่ต้นทางเลยครับ โดยปรกติแล้ว ะมีค่าใช้จ่ายในการรับทำ Website หรือ Web Application อยู่แล้วส่วนหนึ่ง แต่นอกจากนี้ มีอะไรอีก เช่น ค่า Hosting, Domain, Theme, Font, รูปภาพ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ใครเป็นคนออก ใครเป็นคนจัดการ

แล้วหลังจากจบโครงการไป จะต้องจ่ายค่ารายปีนี้กับใคร แบบไหน Domain และ Hosting ส่วนใหญ่เป็นรายปี แล้วหากต้องการแก้ไข หรือปรับแต่งอะไรเพิ่มเติม จะมีการคิดเงินอย่างไร เป็นครั้ง เป็นเดือน หรือแบบไหน ทำความเข้าใจกับ เงื่อนไขของ freelance แต่ละคนให้ดีครับ

7.คุณพัฒนางานบนระบบอะไร

คำถามนี้ดู Geek ขึ้นมาหน่อย แต่ผมแนะนำว่า ให้ถามครับ เพราะย่างที่บอกไป freelance แต่ละคน ถนัดแตกต่างกันไป เราจำเป็นต้องรู้ว่า ไอ้ที่เค้ากำลังจะทำลงมาให้เรานั้น มันคืออะไร เป็นภาษาอะไร อยู่บน Platform อะไร ภาษา อะไร มี Framework อะไรในการพัฒนารึเปล่า

หรือใช้ระบบสำเร็จรูปอะไรในการทำงาน ถามมาแล้วจดเก็บเอาไว้ครับ คุณอาจจะดูไม่ค่อยจำเป็น แต่มันจะทำให้คุณ รู้จักกับระบบคุณขึ้นมาอีกเยอะ

8.คำถาม เรื่องลิขสิทธิ์

เอาซะหน่อย ทีแรกคิดว่าไม่น่าใช้เรื่องใหญ่ แต่ส่นใหญ่เวลาผมเจอ มักเจองานแบบที่ ห้ามเขียนชื่อ หรือประกาศว่าเราเป็นคนทำ งั้นอันนี้ขอพูดในฝั่ง freelance แทนว่า งานที่คุณให้พวกเราทำให้ ถ้ามันไม่ได้ดูเป็นระบบ ที่มีการวิจัย และพัฒนาอะไรขึ้นมามากมาย

เช่นเป็นแค่เว็บองค์กร ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปใส่ใจเรื่อง ห้ามใครรู้หรอกครับ ให้ freelance เค้าแปะ Logo ชื่อของเค้า ให้เค้าได้ภาคภูมืใจหน่อยไม่ได้หรือไง อันนิดเดียวข้างล่าง สั้นๆ แค่นั้นเอง 555 อันนี้คุยกันให้ดีนะครับว่า สิทธิ์ของระบบจะเป็นของใคร เอาไปใช้ทำอะไรต่อไปได้ไหม Copy ทำซ้ำได้ไหม อันนี้ชัดเจนนะครับ

คุณอาจสนใจ Fastwork ตลาดงานสำหรับ Freelance

ขอบคุณรูปภาพจาก

Photo by Unsplash on Unsplash

คุณพ่อของน้องเกี้ยมอี๋ ไม่รู้ว่าใครซนกว่ากัน ทำงานเป็นโปรแกรมเม่า และ System Analyst ประจำบ้าน ดูหนัง ดูซีรี่ย์ เล่นเกมส์กับลูกชาย และเขียนบทความ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back To Top