WHERE IS MY PHP INI

WHERE MY PHP INI

สำหรับคนที่ทำงานกับภาษา PHP แล้วการทำงานที่ต้องลงลึกถึงตัว setting ติดตั้งหรือกำหนดค่าต่างๆ เจ้าไฟล์ที่มีชื่อเท่ห์ๆว่า php.ini มักจะโผล่มาให้ได้ยินอยู่เป็นประจำ เสมอเลย

โดยปรกติแล้ว ภาษา PHP จะมีการทำงานกับองค์ประกอบต่างๆอยู่มากมายหลายส่วนเลยครับ หลังจากที่เราติดตั้งเจ้า PHP ลงไปในเครื่องของเราแล้ว แม้ทุกอย่างจะพร้อมใข้งาน เพราะส่วนมาก เรามักใช้เครื่องมื่อช่วยติดตั้ง อย่างพวก XAMPP, LARAGON, APPSERV พวกนั้น

แต่หากเมื่อไหร่ การทำงานของเรา จำเป็นต้องตั้งค่าเพิ่มเติม นอกเหนือไปจาก Default configuration ที่ทางค่ายเค้าติดตั้งมาให้ เราก็สามารถปรับแต่ง บรรดาค่า config หรือการทำงานร่วมกันกับ extension อื่นๆเพิ่มเติมได้ที่นี่แหละ ตัวไฟล์ มันก็เหมือนกับไฟล์ text ทั่วไป แต่ดันมีนามสกุลเป็น .ini ที่เราสามารถ เปิดขึ้นมาปรับแต่งมันได้ด้วย text editor ของเราทั่วไปนี่แหละครับ

เช่น หากเราลง .dll ซักตัวอย่าง mssql extension เพิ่มเข้าไป เราก็ต้องมาเปิด comment ที่หน้าบรรทัดของ extension นั้นๆบนไฟล์นี้เสียก่อน จากนั้นก็ค่อยไปสั่ง restart ตัว server เข่น apache อีกทีก็จะสามารถ ทำงานต่อได้ ทีนี้แล้วเจ้าไฟล์ตัวนี้อยู่ที่ไหนบน com ของเรากันนะ มีวิธีหาไม่ยาก แต่นับว่าเป็นคำถามที่มือใหม่ ถามกันเป็นประจำ ผมจะบอกวิธีตรวจสอบให้ ว่าไฟล์ของคุณ มันซ่อนอยู่ที่ไหน ด้วยคำสั่ง ง่ายๆ จากการเปิด php ขึ้นมาแล้วพิมพ์ไปว่า

phpinfo();

หรือถ้าใครจะสั่งผ่าน commandline จากบน server ก็จัดได้จาก php –ini แบบนี้คุณก็จะเห็นว่าไฟล์ของคุณ ซ่อนอยู่ที่ไหนบนเครื่อง แล้วค่อยตามไปจัดการกับมันให้เรียบร้อย สมใจหมายซะครับ 555

ส่วนอะไรบ้างที่นิยมหรือแก้ไขกันบ่อยๆอยู่เป็นนิจก็เช่น

display_errors

หากเกิด error ขึ้นให้แสดงภายในหน้าเว็บหรือไม่ ถ้าเป็นเครื่อง development ควร On ไว้เพื่อ debug ถ้าเป็นเครื่อง production ควร Off เพื่อไม่ให้ผู้ใช้เห็น อันนี้จำเป็นมากๆ เครื่องผมเปิดตลอด ถ้าไม่เห็น error แล้วงง แก้ไขไม่ถูก

error_reporting

ใช้ปรับระดับ level การแสดง error ว่าจะให้แสดงมากน้อยเพียงใด หากต้องการปิด error ไม่ให้แสดงเลย ให้ใส่เป็น 0 ได้แต่ปรกติผมใช้แบบโชว์หมด ขอแบบว่าพอมี error ปุ๊บ เห็นกันจะๆ

max_execution_time

กำหนดเป็นตัวเลขที่ต้องการให้ script สามารถรันได้นานที่สุด ทั่วไปกำหนดที่ 30 วินาที ซึ่งค่อนข้างเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป หากต้องมีการทำงานที่ใช้การประมวลผลเป็นเวลานานสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่แนะนำให้ใส่เยอะเกินไป เพราะอาจทำให้ loop infinite ก่อนความเสียหายเป็นระยะเวลานาน โดยที่เราไม่รู้ตัวได้

max_input_time

ใช้กำหนดเวลามากที่สุดที่อนุญาตให้ php ประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งเข้ามาได้เช่นการ submit form post

memory_limit

กำหนดขนาดของ memory ที่อนุญาตให้ script แต่ละตัวใช้ได้ ถ้ากำหนดสูงไปอาจเกิดปัญหา memory leak ได้

post_max_size

ขนาดข้อมูลใหญ่ที่สุดที่อนุญาตให้ผู้ใช้ส่งเข้ามาได้ ขนาดตรงนี้รวมทั้ง file ที่ upload และข้อมูลที่ submit ผ่าน form

file_uploads

อนุญาตให้ upload file ขึ้น server ได้หรือไม่

upload_max_filesize

ขนาดไฟล์สูงสุดที่ให้ upload ได้

max_file_uploads

จำนวนไฟล์ที่ upload ได้พร้อมกันทั้งหมด

extension

กำหนด extension ของ php ที่ต้องการใช้งาน ต่อไปนี้ อย่าไปกังวล กับไฟล์นี้นะ ใครมีเวลาอย่าไปกลัว copy ตัวจริงเก็บไว้ ก่อน แล้วจากนั้นก็ปรับค่าเล่น จนเข้าใจทั้งไฟล์ได้เลย

ขอบคุณครับ
ธีรภัทร เกษสกุล

https://www.php.net/manual/en/index.php

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
คู่มือการเขียน Laravel Framework

คุณพ่อของน้องเกี้ยมอี๋ ไม่รู้ว่าใครซนกว่ากัน ทำงานเป็นโปรแกรมเม่า และ System Analyst ประจำบ้าน ดูหนัง ดูซีรี่ย์ เล่นเกมส์กับลูกชาย และเขียนบทความ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back To Top